มอก. 866 เล่ม 30(101)-2561   เครื่องจักรกลไฟฟ้าชนิดหมุน เล่ม 30(101) ระดับชั้นประสิทธิภาพของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิดเหนี่ยวนำสามเฟส (วันที่มีผลบังคับใช้ 18 เม.ย. 69)
ขอบข่าย
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฉบับนี้ครอบคลุมระดับชั้นประสิทธิภาพของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด
เหนี่ยวนำ สามเฟส ที่มีความเร็วเดียว ซึ่งมีพิกัดเป็นไปตาม มอก. 866 เล่ม 1 ที่มีพิกัดในการทำงานกับแหล่งจ่าย
แรงดันไฟฟ้าที่เป็นรูปคลื่นไซน์ ดังนี้
- มีกำลังที่พิกัด PN จาก 0.12 kW ถึง 375 kW
- มีแรงดันไฟฟ้าที่พิกัด UN สูงกว่า 50 V ถึง 1 kV
- มี 2, 4, 6 หรือ 8 ขั้ว
- สามารถทำงานอย่างต่อเนื่องที่กำลังที่พิกัด ด้วยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของระดับชั้นอุณหภูมิ
ของฉนวน
หมายเหตุ 1 มอเตอร์ตามมาตรฐานฉบับนี้คือมอเตอร์ที่มีประเภทการทำงาน S1 (ทำงานต่อเนื่อง) ตาม มอก. 866 เล่ม 1
อย่างไรก็ตามมอเตอร์ไฟฟ้าที่มีประเภทการทำงานชนิดอื่น ที่สามารถทำงานอย่างต่อเนื่องที่กำลังที่พิกัดได้ให้
เป็นไปตามมาตรฐานฉบับนี้ด้วย
- แสดงเครื่องหมายอุณหภูมิภายนอกใดๆ ที่อยู่ในช่วงระหว่าง –20 oC ถึง +60 oC
หมายเหตุ 2 ประสิทธิภาพที่พิกัด และระดับชั้นประสิทธิภาพจะอ้างอิงที่อุณหภูมิภายนอก 25 oC ตาม มอก. 866 เล่ม 2(1)
หมายเหตุ 3 มอเตอร์ที่มีพิกัดอุณหภูมิอยู่นอกย่าน –20 oC และ +60 oC สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นมอเตอร์ที่มีโครงสร้าง
พิเศษ เป็นผลให้ถูกยกเว้นจากมาตรฐานฉบับนี้
หมายเหตุ 4 มอเตอร์ชนิดสกัดควัน (smoke extraction motors) ที่มีค่าระดับชั้นอุณหภูมิสูงถึง 400 oC ครอบคลุมตาม
มาตรฐานฉบับนี้
- แสดงเครื่องหมายด้วยระดับความสูงถึง 4 000 m จากระดับน้ำทะเล
หมายเหตุ 5 ประสิทธิภาพที่พิกัด และระดับชั้นประสิทธิภาพจะอ้างอิงที่ระดับความสูง 1 000 m จากระดับน้ำทะเล
ประสิทธิภาพของระบบขับเคลื่อนไม่ครอบคลุมตามมาตรฐานฉบับนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสูญเสียของ
มอเตอร์ที่เกิดจากส่วนประกอบฮาร์มอนิกของแรงดันไฟฟ้าที่จ่าย กำลังสูญเสียในสายเคเบิล ตัวกรอง และตัว
แปลงผนั ความถี่ ท้งั หมดนั้นไมค่ รอบคลุมตามมาตรฐานฉบับนี้
มอเตอร์ที่มีหน้าจาน (flanges) ขาตั้ง (feet) และ/หรือ แกน (shaft) ที่ขนาดทางกลแตกต่างไปจาก IEC
60072-1 ครอบคลุมตามมาตรฐานฉบับนี้
มอเตอร์เกียร์ครอบคลุมตามมาตรฐานฉบับนี้ รวมทั้งที่มีแกนและหน้าจานที่ไม่เป็นมาตรฐาน
มาตรฐานนี้ไม่ครอบคลุมถึง
- มอเตอร์ชนิดซิงโครนัส หรือมอเตอร์ชนิดแม่เหล็กถาวร
- มอเตอร์ไฟฟ้าเฟสเดียว
- มอเตอร์ที่มีจำนวนขั้ว 10 ขั้วขึ้นไป
- มอเตอร์ที่มีหลายความเร็ว
- มอเตอร์ที่มีคอมมิวเตเตอร์ทางกล (เช่น มอเตอร์กระแสตรง)
- มอเตอร์ที่ประกอบรวมเบ็ดเสร็จในเครื่องจักร (ตัวอย่างเช่น เครื่องสูบ (pump) พัดลม และเครื่อง
อัด (compressor)) ซึ่งในการปฏิบัติไม่สามารถทดสอบแยกออกจากเครื่องจักร แม้ว่าจะมีการ
จัดเตรียมกระบังปิดปลาย (end-shield) และรองลื่นปลายด้านขับเคลื่อน (drive-end bearing)
ชั่วคราว หมายความว่ามอเตอร์จะต้อง ก) ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (นอกเหนือจากใช้ตัวต่อ เช่น สลัก
เกลียว) กับหน่วยขับเคลื่อน (ตัวอย่างเช่น แกน หรือตัวโครงครอบเครื่อง) และ ข) ไม่ได้ถูก
ออกแบบให้สามารถที่จะแยกมอเตอร์ออกจากหน่วยขับ แม้ว่ามอเตอร์จะสามารถทำงานอย่าง
อิสระจากหน่วยขับ นั่นคือถ้ากระบวนการในการแยกจะทำให้มอเตอร์ไม่ทำงาน มอเตอร์นั้นจะไม่
ครอบคลุมตามมาตรฐานฉบับนี้
(TEAO, IC418) เคร่อื งจักรกลชนิดปิดหุ้มอากาศทั้งหมด (Totally Enclosed Air-Over Machine)
ตัวอย่างเช่น เครื่องจักรกลที่ระบายความร้อนที่พื้นผิวของตัวโครงครอบเครื่องทั้งหมด ใช้ระบบการ
ระบายความร้อนภายนอกโดยใช้วิธีการระบายอากาศนอกเครื่องจักรกลเป็นไปตามมาตรฐานฉบับนี้
การทดสอบประสิทธิภาพมอเตอร์เช่นนี้อาจจะทำโดยการนำพัดลมออกและจัดระบบการระบาย
ความร้อนโดยการใช้เครื่องเป่าลมที่พิกัดการไหลของอากาศคล้ายคลึงกับพัดลมดั้งเดิม
- มอเตอร์ที่มีตัวแปลงผันความถี่ประกอบรวมกัน (compact drives) เมื่อมอเตอร์ไม่สามารถ
ทดสอบแยกจากตัวแปลงผันได้ ระดับชั้นประสิทธิภาพพลังงานของชุดขับเคลื่อนจะต้องอยู่บน
พื้นฐานของผลิตภัณฑ์ชุดสำเร็จ (PDS: Power Drive System) และจะต้องถูกกำหนดในมาตรฐาน
ที่แยกออกต่างหาก
หมายเหตุ 6 มอเตอร์จะไม่อยู่นอกขอบข่ายเมื่อมอเตอร์และตัวแปลงผันความถี่สามารถแยกออกจากกันได้
และมอเตอร์สามารถทดสอบแยกต่างหากจากตัวแปลงผัน
- มอเตอร์เบรก เมื่อระบบเบรกรวมเป็นส่วนหนึ่งภายในโครงสร้างของมอเตอร์ ซึ่งไม่สามารถถอด
ออกหรือจ่ายแรงดันจากแหล่งจ่ายอื่นในขณะที่ทำการทดสอบประสิทธิภาพของมอเตอร์
หมายเหตุ 7 มอเตอร์เบรกที่มีขดเบรกรวมอยู่กับหน้าจานของมอเตอร์จะครอบคลุมตามมาตรฐานนี้ ถ้า
สามารถที่จะทดสอบประสิทธิภาพได้โดยไม่เกิดความสูญเสียจากเบรก (ตัวอย่างเช่น การรื้อเบรก
ออก หรือการจ่ายพลังงานให้แก่ขดลวดเบรกจากแหล่งจ่ายที่แยกต่างหาก)
เมื่อผู้ผลิตเสนอมอเตอร์ที่มีการออกแบบอย่างเดียวกันทั้งโดยมีหรือไม่มีเบรก การทดสอบ
ประสิทธิภาพสามารถทำได้โดยการทดสอบมอเตอร์ที่ไม่มีเบรก ดังนั้น ในการหาค่าประสิทธิภาพ
อาจจะใช้เป็นพิกัดสำหรับมอเตอร์และเบรกมอเตอร์ได้ทั้งคู่
- มอเตอร์ที่แช่น้ำได้ ที่ออกแบบเฉพาะให้ใช้งานในของเหลว
- มอเตอร์ชนิดสกัดควัน (smoke extraction motors) ที่มีค่าระดับอุณหภูมิสูงกว่า 400 oC

สอบถามรายละเอียด
- การตรวจสอบ/กำกับดูแลผลิตภัณฑ์ : กองตรวจการมาตรฐาน 2 กลุ่ม 4   โทร. 0 2430 6823 ต่อ 1240
- การขอรับใบอนุญาต มอก. : กองควบคุมมาตรฐาน ก.4 (ไฟฟ้าส่องสว่าง กำลัง)   โทร. 0 2430 6821 ต่อ 1040
รูปตัวอย่าง / พิกัดรหัสสถิติ (HS2022)